- พ.ศ.2302 ตากะจะและเชียงขันธ์ ร่วมกับสหายซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มเขมรป่าดงตามจับพระยาช้างเผือกคืนกลับกรุงศรีอยุธยาได้จึงมีความชอบ ตากะจะ ได้รับโปรดเกล้าฯ บรรดาศักดิ์เป็น “หลวงแก้วสุวรรณ” ตำแหน่งนายกองหมู่บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน ในฐานะรับราชการ ในยุคกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย (คำว่า "เขมรป่าดง" เป็นคำที่ทางการเรียกเหมารวมดินแดนอีสานใต้ในอดีตซึ่งประกอบด้วยชนหลายชาติพันธุ์ ได้แก่ เขมร กูย/กวย ลาว เป็นต้น)
- พ.ศ. 2319 ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าตากสิน แห่งกรุงธนบุรี ได้ทำสงครามกับลาว ด้วยเหตุที่เมืองจำปาสัก ได้ร่วมมือกับพระยานางรอง ยกพลเข้ามาทำการกวาดต้อนผู้คนในครัวเรือนที่เคยขึ้นต่อจำปาสัก แต่ต่อมาได้มาขึ้นต่อการปกครองของสยามประเทศในขณะนั้น สร้างความ ไม่พอพระทัยให้พระองค์เป็นอย่างยิ่ง จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาจักรี (พระยศของ ร.1 ในขณะนั้น) ยกทัพไปปราบ จนสามารถจับพระยานางรองประหารชีวิต แล้วจึงได้ร่วมกับพระยาสุรสีห์ฯ ยกทัพไปตีเมืองลาวใต้ ที่เมืองจำปาสัก เมืองอัตปือแสนปาง และเมืองสีทันดร เมื่อเสร็จศึกแล้วได้กวาดต้อนชาวลาว และเกลี้ยกล่อมชนพื้นเมืองให้มาขึ้นอยู่ภายใต้การปกครองดูแลของ เมืองขุขันธ์ เมืองสุรินทร์และ เมืองสังขะ เป็นจำนวนมาก
- พ.ศ. 2321 พระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงธนบุรี (พระเจ้าตากสิน) ทรงไม่พอพระทัยในการกระทำของเจ้าสิริบุญสาร เจ้าผู้ครองเมืองเวียงจันทน์ ที่ได้ให้พระสุโพธิ์ยกกองทัพไปจับพระวอ นำไปประหารชีวิต ถือเป็นการกระด้างกระเดื่อง ไม่ยำเกรงต่อพระราชอำนาจกรุงธนบุรี พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ พระยาจักรียกทัพไปปราบ โดยมีบัญชาให้ทัพจากเมืองขุขันธ์ เมืองสุรินทร์ และเมืองสังขะ ยกทัพร่วมทำศึกในครั้งนี้ด้วย ทัพจากเมืองขุขันธ์ โดยการนำทัพของ “พระไกรภักดีศรีนครลำดวน” (ตากะจะ หรือ หลวงแก้วสุวรรณ) และ “หลวงปราบ” ผู้ช่วยเมืองขุขันธ์ (เชียงขันธ์) ในการทำศึกครั้งนี้ใช้เวลา 4 เดือน จึงสามารถชนะศึกและปราบปรามได้
- พ.ศ. 2376 - 2382 รัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ว่า พระองค์เคยรับสั่งให้ “เจ้าพระยาบดินเดชาสิงหเสนีย์” (สิงห์ สิงหเสนีย์) ผู้เป็นแม่ทัพสำคัญของไทยในขณะนั้นออกเดินทางมายังบ้านเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อจัดทำบัญชีพลหัวเมืองฝ่ายตะวันออกให้ชัดเจนเป็นหลักฐานเก็บรักษาไว้ ซึ่งก็รวมถึงหัวเมืองเขมรป่าดงเหล่านี้ด้วย ซึ่งในสมัยนั้น "เมืองเขมรป่าดง" (เมื่อปี พ.ศ. 2379) ประกอบด้วย 13 เมือง
- พ.ศ. 2428 เรื่องราวเมืองขุขันธ์ เมื่อปี พ.ศ. 2428 ในบันทึกย่อหมายเหตุเกี่ยวกับลาว เมื่อ ปี ค.ศ. 1885 (ตรงกับ พ.ศ. 2428) ของ เอเตียน เอมอนิเยร์ พูดถึงการมีอยู่ของชนชาติพันธุ์กูย ร่วมกับชนชาติพันธุ์เขมร และชนชาติพันธุ์ลาว
- พ.ศ. 2435 เนื่องจากพระเจ้าอยู่หัวฯ ร.5 พระองค์ได้ทรงเห็นว่า เมืองขุขันธ์ เมืองสุรินทร์ และเมืองสังขะ รวมทั้งเมืองศีร์ษะเกษ มีราษฎรพูดภาษาถิ่นหลายภาษา อันได้แก่ ภาษาเขมร ภาษากูย/กวย ภาษาเยอ และภาษาลาว จึงทรงโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ พระศรีพิทักษ์ เป็นข้าหลวงใหญ่กำกับราชการแยกเป็นอีกเขตหนึ่ง ประกอบด้วยเมืองขุขันธ์ เมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ และเมืองศีร์ษะเกษ นับเป็นท่านที่ 4 ที่มีตำแหน่งข้าหลวงกำกับราชการประจำเมืองขุขันธ์
- พ.ศ. 2428 เรื่องราวเมืองขุขันธ์ เมื่อปี พ.ศ. 2428 ในบันทึกย่อหมายเหตุเกี่ยวกับลาว เมื่อ ปี ค.ศ. 1885 (ตรงกับ พ.ศ. 2428) ของ เอเตียน เอมอนิเยร์ พูดถึงการมีอยู่ของชนชาติพันธุ์กูย ร่วมกับชนชาติพันธุ์เขมร และชนชาติพันธุ์ลาว
- พ.ศ. 2435 เนื่องจากพระเจ้าอยู่หัวฯ ร.5 พระองค์ได้ทรงเห็นว่า เมืองขุขันธ์ เมืองสุรินทร์ และเมืองสังขะ รวมทั้งเมืองศีร์ษะเกษ มีราษฎรพูดภาษาถิ่นหลายภาษา อันได้แก่ ภาษาเขมร ภาษากูย/กวย ภาษาเยอ และภาษาลาว จึงทรงโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ พระศรีพิทักษ์ เป็นข้าหลวงใหญ่กำกับราชการแยกเป็นอีกเขตหนึ่ง ประกอบด้วยเมืองขุขันธ์ เมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ และเมืองศีร์ษะเกษ นับเป็นท่านที่ 4 ที่มีตำแหน่งข้าหลวงกำกับราชการประจำเมืองขุขันธ์
-พ.ศ. 2442 ในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงได้มีการออกประกาศเปลี่ยนนามมณฑล ร.ศ.118 และเมื่อมีการสำรวจสำมะโนครัว ก็ได้ห้ามการระบุว่าเป็นชาติลาว เขมร กูย/กวย ผู้ไท ฯลฯ แต่กำหนดให้ใช้สัญชาติไทยเหมือนกันหมด
- พ.ศ. 2547 จากเสี้ยวหนึ่งของผลของการวิจัยในหนังสือแผนที่ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในประเทศไทย (Ethnolinguistic Maps of Thailand) ของสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งตีพิมพ์เมื่อเดือนกันยายน 2547(ISBN 974-7103-58-3) ภาษากูย /หรือ ภาษากวย ភាសាកួយ จัดอยู่ในตระกูลภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก(AUSTROASIATIC) หรือตระกูลภาษามอญ-เขมรตะวันออก(EASTERN MON-KHMER) กลุ่มกะตู(KATUIC)
- พ.ศ. 2548 แผนที่ชาติพันธุ์วิทยาของประเทศกัมพูชาที่แสดงถึงบริเวณพื้นถิ่นที่พบว่ายังคงมีการใช้ภาษาพูดทั้ง 5 กลุ่มตระกูลภาษา เมื่อปี ค.ศ. 2005/พ.ศ.2548
- พ.ศ.2549 Parlons kouy Une langue mon-khmer : หนังสือชื่อ มาคุยภาษากูยกันเถอะ (ภาษามอญ-เขมรอีกภาษาหนึ่ง) ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2549