เส้นสายแห่งกาลเวลาของกูย/กวย Timelines of Kouis History កាល​បរិច្ឆេទ​ប្រវត្តិសាស្រ្តកួយ

- พ.ศ. 1976 มีหลักฐานที่ยืนยันว่าชนชาติพันธุ์กูย /หรือ กวย เป็นที่รู้จักมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ซึ่งตรงกับรัชสมัย สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือ เจ้าสามพระยา ราชวงศ์สุพรรณภูมิ-ครั้งที่ 2 แห่งกรุงศรียุธยา (เริ่มครองราช พ.ศ.1967 -สิ้นสุดราชกาล พ.ศ.1991 ) คือ พระอัยการอาญาหลวง พ.ศ. 1976 กล่าวถึงในการห้ามหญิงไทยแต่งงานกับคนต่างด้าว ได้แก่ ฝารั่ง อังกริด วิลันดา คุลา ชวา มลายู แขก กวย แกว คลิก

- พ.ศ.2302 ตากะจะและเชียงขันธ์ ร่วมกับสหายซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มเขมรป่าดงตามจับพระยาช้างเผือกคืนกลับกรุงศรีอยุธยาได้จึงมีความชอบ ตากะจะ ได้รับโปรดเกล้าฯ บรรดาศักดิ์เป็น “หลวงแก้วสุวรรณ” ตำแหน่งนายกองหมู่บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน ในฐานะรับราชการ ในยุคกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย (คำว่า "
เขมรป่าดง" เป็นคำที่ทางการเรียกเหมารวมดินแดนอีสานใต้ในอดีตซึ่งประกอบด้วยชนหลายชาติพันธุ์ ได้แก่ เขมร กูย/กวย ลาว เป็นต้น)


- พ.ศ. 2319 ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าตากสิน  แห่งกรุงธนบุรี ได้ทำสงครามกับลาว ด้วยเหตุที่เมืองจำปาสัก ได้ร่วมมือกับพระยานางรอง ยกพลเข้ามาทำการกวาดต้อนผู้คนในครัวเรือนที่เคยขึ้นต่อจำปาสัก แต่ต่อมาได้มาขึ้นต่อการปกครองของสยามประเทศในขณะนั้น สร้างความ ไม่พอพระทัยให้พระองค์เป็นอย่างยิ่ง จึงทรงโปรดเกล้าฯ  ให้พระยาจักรี (พระยศของ ร.1 ในขณะนั้น)  ยกทัพไปปราบ  จนสามารถจับพระยานางรองประหารชีวิต  แล้วจึงได้ร่วมกับพระยาสุรสีห์ฯ ยกทัพไปตีเมืองลาวใต้ ที่เมืองจำปาสัก เมืองอัตปือแสนปาง และเมืองสีทันดร เมื่อเสร็จศึกแล้วได้กวาดต้อนชาวลาว และเกลี้ยกล่อมชนพื้นเมืองให้มาขึ้นอยู่ภายใต้การปกครองดูแลของ เมืองขุขันธ์ เมืองสุรินทร์และ  เมืองสังขะ เป็นจำนวนมาก

- พ.ศ. 2321 พระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงธนบุรี (พระเจ้าตากสิน) ทรงไม่พอพระทัยในการกระทำของเจ้าสิริบุญสาร เจ้าผู้ครองเมืองเวียงจันทน์ ที่ได้ให้พระสุโพธิ์ยกกองทัพไปจับพระวอ นำไปประหารชีวิต ถือเป็นการกระด้างกระเดื่อง ไม่ยำเกรงต่อพระราชอำนาจกรุงธนบุรี พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ พระยาจักรียกทัพไปปราบ โดยมีบัญชาให้ทัพจากเมืองขุขันธ์  เมืองสุรินทร์  และเมืองสังขะ  ยกทัพร่วมทำศึกในครั้งนี้ด้วย  ทัพจากเมืองขุขันธ์ โดยการนำทัพของ “พระไกรภักดีศรีนครลำดวน” (ตากะจะ หรือ หลวงแก้วสุวรรณ) และ “หลวงปราบ”  ผู้ช่วยเมืองขุขันธ์ (เชียงขันธ์) ในการทำศึกครั้งนี้ใช้เวลา 4 เดือน จึงสามารถชนะศึกและปราบปรามได้ 

พ.ศ. 2376 - 2382  รัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ว่า พระองค์เคยรับสั่งให้ “เจ้าพระยาบดินเดชาสิงหเสนีย์” (สิงห์ สิงหเสนีย์) ผู้เป็นแม่ทัพสำคัญของไทยในขณะนั้นออกเดินทางมายังบ้านเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อจัดทำบัญชีพลหัวเมืองฝ่ายตะวันออกให้ชัดเจนเป็นหลักฐานเก็บรักษาไว้ ซึ่งก็รวมถึงหัวเมืองเขมรป่าดงเหล่านี้ด้วย ซึ่งในสมัยนั้น "เมืองเขมรป่าดง" (เมื่อปี พ.ศ. 2379) ประกอบด้วย 13 เมือง

- พ.ศ. 2428 เรื่องราวเมืองขุขันธ์ เมื่อปี พ.ศ. 2428 ในบันทึกย่อหมายเหตุเกี่ยวกับลาว เมื่อ ปี ค.ศ. 1885 (ตรงกับ พ.ศ. 2428) ของ เอเตียน เอมอนิเยร์ พูดถึงการมีอยู่ของชนชาติพันธุ์กูย ร่วมกับชนชาติพันธุ์เขมร และชนชาติพันธุ์ลาว

- พ.ศ. 2435 เนื่องจากพระเจ้าอยู่หัวฯ ร.5 พระองค์ได้ทรงเห็นว่า เมืองขุขันธ์ เมืองสุรินทร์ และเมืองสังขะ รวมทั้งเมืองศีร์ษะเกษ มีราษฎรพูดภาษาถิ่นหลายภาษา อันได้แก่ ภาษาเขมร ภาษากูย/กวย  ภาษาเยอ และภาษาลาว จึงทรงโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ พระศรีพิทักษ์ เป็นข้าหลวงใหญ่กำกับราชการแยกเป็นอีกเขตหนึ่ง ประกอบด้วยเมืองขุขันธ์ เมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ และเมืองศีร์ษะเกษ นับเป็นท่านที่ 4 ที่มีตำแหน่งข้าหลวงกำกับราชการประจำเมืองขุขันธ์

-พ.ศ. 2442 ในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงได้มีการออกประกาศเปลี่ยนนามมณฑล ร.ศ.118 และเมื่อมีการสำรวจสำมะโนครัว ก็ได้ห้ามการระบุว่าเป็นชาติลาว เขมร กูย/กวย  ผู้ไท ฯลฯ แต่กำหนดให้ใช้สัญชาติไทยเหมือนกันหมด

- พ.ศ. 2449 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ท่านกล่าวว่า "... เมืองสุรินทร์ เมืองสังคะ เมืองขุขันธ์ เมืองศีร์ษะเกษ และอำเภอประโคนชัย(เดิมชื่อว่า "เมืองตลุง") บรรดาอยู่ฝั่งใต้ต่อแดนกัมพูชา ชาวเมืองเป็น "เขมรป่าดง" ทั้งนั้น..."

- พ.ศ. 2547  จากเสี้ยวหนึ่งของผลของการวิจัยในหนังสือแผนที่ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในประเทศไทย (Ethnolinguistic Maps of Thailand) ของสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งตีพิมพ์เมื่อเดือนกันยายน 2547(ISBN 974-7103-58-3) ภาษากูย /หรือ ภาษากวย ភាសាកួយ​​ จัดอยู่ในตระกูลภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก(AUSTROASIATIC) หรือตระกูลภาษามอญ-เขมรตะวันออก(EASTERN MON-KHMER) กลุ่มกะตู(KATUIC)

- พ.ศ. 2548 แผนที่ชาติพันธุ์วิทยาของประเทศกัมพูชาที่แสดงถึงบริเวณพื้นถิ่นที่พบว่ายังคงมีการใช้ภาษาพูดทั้ง 5 กลุ่มตระกูลภาษา เมื่อปี ค.ศ. 2005/พ.ศ.2548 

- พ.ศ.2549 Parlons kouy Une langue mon-khmer : หนังสือชื่อ มาคุยภาษากูยกันเถอะ (ภาษามอญ-เขมรอีกภาษาหนึ่ง) ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2549

អ្ហន្រួយអាំ្ង ไก่ย่าง Grilled Chicken

អ្ហន្រួយអាំ្ង /ʔən-ruəy-ʔaŋ อนฺรูย*-อัง /

หรือบ้างก็ออกเสียงเพี้ยนเป็น /hən-ruəy-ʔaŋ ฮนฺรูย*-อัง /




ภาษาไทย : ไก่ย่าง

ភាសាខ្មែរ : មាន់អាំង

English : Grilled Chicken

เอกสารอ้างอิง ឯកសារយោង Reference :
​กูยปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
កួយកោះពឺត(កួយព្រៃធំ) ស្រុកគោកខណ្ឌ ខេត្តស៊ីសៈកេត
Kuay Prue Yai, Khukhan District, Sisaket Province.

អ្ហន្រួយថូង ไก่โต้ง rooster

អ្ហន្រួយថូង​​ /ʔən-ruəy-thouŋ อนฺรูย*-โทง /
หรือบ้างก็ออกเสียงเพี้ยนเป็น /hən-ruəy-thouŋ อนฺรูย*-โทง /

ภาษาไทย : ไก่โต้ง

ភាសាខ្មែរ : មាន់ឈ្មោល

English : Rooster

เอกสารอ้างอิง ឯកសារយោង Reference :
​กูยปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
កួយកោះពឺត(កួយព្រៃធំ) ស្រុកគោកខណ្ឌ ខេត្តស៊ីសៈកេត
Kuay Prue Yai, Khukhan District, Sisaket Province.

តេយ្យរោវ្វ ​​ / ដៃរោវ្វ หางไหลของต้นบอน/ต้นเผือก The root of the Elephant ear.

តេយ្យរោវ្វ ​​ /teiy-rɨw เต็ย-เรื็อว / ដៃរោវ្វ ​​ /dai-rɨw ดัย-เรื็อว / 


ภาษาไทย :
และภาษาไทยอีสาน เรียก หางไหลของต้นบอน/ต้นเผือก หรือเรียกเป็นคำสั้นๆว่า ไหลบอน ,ไหลเผือก 

ភាសាខ្មែរ : ភាសាខ្មែរលើភូមិភាគឦសានខាងត្បូង ប្រទេសថៃ ហៅថា ដៃត្រាវ

English : the elephant ear shoot .

เอกสารอ้างอิง ឯកសារយោង Reference :
​กูยปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
កួយកោះពឺត(កួយព្រៃធំ) ស្រុកគោកខណ្ឌ ខេត្តស៊ីសៈកេត
Kuay Prue Yai, Khukhan District, Sisaket Province.

ขอบคุณ ช่องยูทูป
Pattranit Wongsri  หาไหลบอน

គន្រាំង ผักหนาม Lasia Spinosa

គន្រាំង​​ /kənrĕəŋ กนฺเรี็ยง /


ภาษาไทย :
และภาษาไทยอีสาน เรียก ผักหนาม

ភាសាខ្មែរ : អន្លក់កន្ទ្រាំង

English : Lasia Spinosa

เอกสารอ้างอิง ឯកសារយោង Reference :
​กูยปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
កួយកោះពឺត(កួយព្រៃធំ) ស្រុកគោកខណ្ឌ ខេត្តស៊ីសៈកេត
Kuay Prue Yai, Khukhan District, Sisaket Province.

ขอบคุณ ช่องยูทูปวิถีอีสาน หาผักหนาม เก็บผักหนาม ตามลำห้วย ของแซบอีสาน

ចោះត្នមតូង ปลูกต้นมะพร้าว Planting coconut tree

ចោះត្នមតូង​​  /cɑh-tnɑ:m-tooŋ เจาะฮฺ ตนอม โตง /


ภาษาไทย :
ปลูกต้นมะพร้าว

ភាសាខ្មែរ :
ដាំដើមដូង

English :
Planting coconut tree


เอกสารอ้างอิง ឯកសារយោង Reference :

​กูยปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
កួយកោះពឺត(កួយព្រៃធំ) ស្រុកគោកខណ្ឌ ខេត្តស៊ីសៈកេត
Kuay Prue Yai, Khukhan District, Sisaket Province.

ព្លៃ្យរំម្នួលសុះ , ប៉្លេយ៑រំម្នួលចែនសុះ ผลลำดวน ripe lamduan fruit

ព្លៃ្យរំម្នួលចែនសុះ​ ,ប៉្លេយ៑រំម្នួលចែនសុះ
/pl
ɨy-rəmnuəl-can-soh เปล็ย-รมฺนูล*-แจน-โซะฮฺ* /
ภาษาไทย :
ผลลำดวนสุก

ភាសាខ្មែរ :
ផ្លែរំដួលទុំ

English :
ripe lamduan fruit

เอกสารอ้างอิง ឯកសារយោង Reference :
​กูยปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
កួយកោះពឺត(កួយព្រៃធំ) ស្រុកគោកខណ្ឌ ខេត្តស៊ីសៈកេត
Kuay Prue Yai, Khukhan District, Sisaket Province.

ក៑តែកប៉្ចាះ ดินแตกระแหง Cracked soil

ក្ត៑ែកប៉្ចាស៑ /ktaek-pcah กแตก-ปจะฮฺ /
 
ภาษาไทย : 
ดินแตกระแหง

ភាសាខ្មែរ :

ដីប្រេះក្រហែង
 

English :  
Cracked soil

เอกสารอ้างอิง ឯកសារយោង Reference :
​กูยปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
កួយកោះពឺត(កួយព្រៃធំ) ស្រុកគោកខណ្ឌ ខេត្តស៊ីសៈកេត
Kuay Prue Yai, Khukhan District, Sisaket Province.

ល្វឹង งา sesame

ល្វឹង /lvɨŋ ลวึง /

ภาษาไทย :
งา

ភាសាខ្មែរ :

ល្ង
 

English :
sesame


เอกสารอ้างอิง ឯកសារយោង Reference :
​กูยปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
កួយកោះពឺត(កួយព្រៃធំ) ស្រុកគោកខណ្ឌ ខេត្តស៊ីសៈកេត
Kuay Prue Yai, Khukhan District, Sisaket Province.

គគ៌្ររមាស , គគីរមាស ต้นตะเคียนทอง Hopea odorata, or ta-khian

គគ៌្ររមាស , គគីរមាស
/ krəkiər- mieh กฺรกีรฺ-เมียะฮฺ / , / kɔki:r- mieh​ กฺกีรฺ-เมียะฮฺ /


ซากของต้นตะเคียนทอง
ที่จมอยู่ใต้น้ำและใต้ดินมาเป็นระยะเวลานานหลายปี 

ซึ่งชาวบ้านในสังกัดวัดปรือคันได้ร่วมกันทำพิธีเชิญต้นตะเคียนทอง
ขึ้นมาจากห้วยสแรเปร็ย ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
ของวัดปรือคัน เมื่อวันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ขนมาไว้

ที่วัดปรือคัน ตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ดู และศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมต่อไป
ภาษาไทย : ต้นตะเคียนทอง
ชื่อสามัญ : ตะเคียนทอง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hopea odorata Roxb.
ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE
ชื่อพื้นเมือง : กะกี้ โกกี้ แคน จะเคียน จูเค้ โซเก ตะเคียน จืองา ตะเคียนใหญ่ ไพร


ที่มา : สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้


ភាសាខ្មែរ : គគីរ
គគីរ ( ន. ) ឈ្មោះ​ឈើ​ធំ​មួយ​ប្រភេទ សាច់​រឹង​ជាប់​សម្រាប់​ប្រើ​ធ្វើ​ទូក​និង​ការ​ឯ​ទៀត​ផ្សេង​ៗ ។ គគីរ​** មាន​ឈ្មោះ​ច្រើន​យ៉ាង មាន គគីរ​ថ្ម, គគីរ​ខ្សាច់ ជាដើម ។
ឯកសារយោង ៖ Chuon Nath's Khmer-Khmer Dictionary



English : Hopea odorata, or ta-khian

      Hopea odorata, or ta-khian (Thai: ตะเคียน), is a species of plant in the Dipterocarpaceae family. It is found in Bangladesh, Cambodia, India, Laos, Malaysia, Myanmar, Thailand, and Vietnam. It is a large tree reaching up to 45 m in height with the base of the trunk reaching a diameter of 4.5 m. It grows in forests, preferably near rivers, at altitudes between 0 and 600m. In places such as West Bengal and the Andaman Islands it is often planted as a shade tree.Valued for its wood, it is a threatened species in its natural habitat.

Reference : Hopea_odorata 
 


หมายเหตุ
* เก็บตกภาพซากของต้นตะเคียนทอง ที่วัดปรือคัน (20/5/2562)



ขอบคุณภาพจากเฟสบุก : เนียกมอม ศรกโตง

** คำ គគ៌្ររ , គគីរ นี้เขมรฝั่งประเทศกัมพูชาปัจจุบัน ออกเสียงตัวสะกดที่เป็น ร เรือไม่ได้กันเลย แต่ชนชาติพันธุ์เขมรแถบอีสานใต้บ้านเรา โดยเฉพาะชนชาติพันธุ์เขมรเมืองขุขันธ์ และชนชาติพันธุ์กูยตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ชาวบ้านนอกเราออกเสียง ร สะกดด้วยได้สบายมากๆ 

ព្រៀត กล้วย banana

ព្រៀត / priət​​ เปรียด* / 

ภาษาไทย :
กล้วย

ភាសាខ្មែរ :
ចេក

English :

banana


เอกสารอ้างอิง ឯកសារយោង Reference :
​กูยปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
កួយកោះពឺត(កួយព្រៃធំ) ស្រុកគោកខណ្ឌ ខេត្តស៊ីសៈកេត
Kuay Prue Yai, Khukhan District, Sisaket Province.

กล้วยปิ้ง ព្រៀតអាំ្ង , ព្រៀតអាំង roasted banana

ព្រៀតអាំ្ង , ព្រៀតអាំង / priət-ʔaŋ ːเปรียด*-อัง / 

กล้วยปิ้งชนชาติพันธุ์กูยและเขมรโบราณ
ภาษาไทย :
กล้วยปิ้ง​

ភាសាខ្មែរ :
ចេកអាំង

English :

roasted banana


เอกสารอ้างอิง ឯកសារយោង Reference :
​กูยปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
កួយកោះពឺត(កួយព្រៃធំ) ស្រុកគោកខណ្ឌ ខេត្តស៊ីសៈកេត
Kuay Prue Yai, Khukhan District, Sisaket Province.

รวมเอกสารอ้างอิง ឯកសារយោង Reference

  • เอกสารศึกษาค้นคว้าเกี่ยกับชุมชนชาวกูย จังหวัดกระแจะฮฺ และก็อมปงธม คลิก
  • บันทึกทางเทคนิคเกี่ยวกับประเด็นชนพื้นเมืองในกัมพูชา Click 

กูย កួយ Kuay Kui or Kuy

กูย  / ku:y /
កួយ  / kuəy /
Kuay
  / kuəy /


ภาษาไทย :
กูย กวย (น.) ชื่อเรียกของชนชาติพันธุ์หนึ่งที่อาศัยอยู่ในดินแดนประเทศไทย กัมพูชา และลาว เป็นต้น

ភាសាខ្មែរ :
កួយ ( ន. ) មនុស្ស​ជាតិ​មួយ​នៅ​ក្នុង​ដែន​ថៃ កម្ពុជានិងឡាវ; កួយ​មាន​ច្រើន​ភាសា : កួយ​ដែក, កួយ​ដំរី ជាដើម ។

English :

Kuay, also known as Kui or Kuy ( n ) [kuəy] Large Mon-Khmer ethnic minority of Northwest Cambodia and adjacent Thailand.

เอกสารอ้างอิง ឯកសារយោង Reference :
​กูยปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
កួយកោះពឺត(កួយព្រៃធំ) ស្រុកគោកខណ្ឌ ខេត្តស៊ីសៈកេត
Kuay Prue Yai, Khukhan District, Sisaket Province.

ปทานุกรมภาษากูย សទ្ទានុក្រមភាសាកួយ Kuay Kui or Kuy Lexicon

កួយ กูย , กวย Kuay Kui or Kuy
គន្រាំង ผักหนาม Lasia Spinosa
ក៑តែកប៉្ចាះ ดินแตกระแหง Cracked soil
គគ៌្ររមាស , គគីរមាស ต้นตะเคียนทอง Hopea odorata 
ចោះត្នមតូង ปลูกต้นมะพร้าว Planting coconut tree
ព្លៃ្យរំម្នួលសុះ , ប៉្លេយ៑រំម្នួលចែនសុះ ผลลำดวน  riped lamduan fruit​​
ព្រៀត กล้วย banana
ព្រៀតអាំ្ង , ព្រៀតអាំង กล้วยปิ้ง roasted banana
ល្វឹង งา sesame

អ្ហន្រួយអាំ្ង ไก่ย่าง Grilled Chicken
*************************
อยู่ระหว่างการปรับปรุงข้อมูล
កំពុងស្ថិតនៅក្នុងដំណើរការធ្វើបច្ចុប្បន្នភាពទិន្នន័យ
It is in the process of updating information